เผยแพร่เมื่อ:
เขียนโดย Admin
ชลบุรี - ท่าเรือแหลมฉบัง เปิดท่าเทียบเรือฝั่ง A โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธี
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 ที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A)โดยมีเรือโท ยุทธนา โมกขาวผู้อานวยการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนายบัณฑิต สาครวิศวะ รองผู้อานวยการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ พร้อมด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้
รองผู้อานวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) มีพื้นที่สนับสนุนบนฝั่งประมาณ 43 ไร่และตั้งอยู่ระหว่างท่าเทียบเรือ บริษัท เอ็น วาย เค ออโต้ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และท่าเทียบเรือ บริษัท แอล ซีเอ็ม ที จำกัด โดยหน้าท่ามีลักษณะเป็นรูปตัว L มีความยาว หน้าท่าที่ 125 เมตร และ 120 เมตร มีความลึกหน้าท่า 10 เมตร และสามารถรองรับตู้สินค้าได้ 300,000 TEU ต่อปี
ผู้อำนวยการการท่า เรือแหลมฉบัง กล่าวว่า โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) เป็น โครงการที่สนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการขนส่งทางน้า อีกทั้ง ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายสำคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง ( Shift Mode) จากทางถนนมาเป็นทางราง และทางน้า และเป็นการสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพนอกจากนี้โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่งยังเป็นโครงการที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกัิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง ซึ่งเป็นการเพิมปริมาณการขนส่งทางรางและทางนาด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการให้ทัดเทียมกบทั่าเรือชั้นนาในภาค
ในการนี้ ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติ อย่างมากที่ได้เป็นประธานในพิธีเปิดท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) อีกทั้ง ยังรู้สึกภาคภูมิใจ ที่โครงการนี้เป็นโครงการที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าโดยเรือชายฝั่งที่มาใช้บริการ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ท่าเรือแหลมฉบัง ยังไม่มีท่าเทียบเรือชายฝั่ง ที่เปิดให้บริการเป็นการเฉพาะ ดังนั้น การเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จะช่วยให้ผู้ประกอบการเรือชายฝั่งได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยลด Waiting Time ของเรือ นอกจากนั้น การขนส่งโดยเรือชายฝั่งเป็นการขนส่งที่ประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่สามารถลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาการจราจร และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศอีกด้วย
ขณะที่ ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม เผยถึงนโยบายในการเฝ้าระวังไวรัสโควิด-19 ว่า กระทรวงคมนาคม ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังเรือสินค้าที่จะเข้าเทียบท่ามากยิ่งขึ้น และได้เพิ่มจำนวนประเทศกลุ่มเสี่ยงที่ตะไม่ให้เรือเข้าเทียบท่าจาก 4 ประเทศ เป็น 18 ประเทศ และกำหนดให้เรือที่จะเข้าเทียบท่าขนถ่ายสินค้ายังท่าเรือแหลมฉบังจะต้องมีแพทย์ประจำเรือ รวมทั้งส่งรายชื่อลูกเรือและผลการตรวจร่างกายล่วงหน้าก่อนอย่างน้อยก่อนเรือเข้าเทียบท่าเป็นเวลา24 ชม.และวันนี้ยังได้ตรวจสอบมาตรการในท่าเทียบเรือท่องเที่ยวที่ ท่าเรือแหลมฉบังอีกด้วย
โจ ลำน้ำปิง/รายงาน