เผยแพร่เมื่อ:
เขียนโดย Admin

การชี้แจงเอกสาร การคัดเลือกเอกชน 32 ราย ที่ร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 (มีคลิป)


     เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2561 ร.ต.ต. มนตรี ฤกษ์เนียร  ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง รักษาการผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงานการชี้แจงเอกสารการคัดเลือกเอกชน โครงการท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ในส่วนของท่าเรือเทียบเรือ  หลังจากได้มีประกาศเชิญชวนการคัดเลือกการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (Eastern Economic Corridor) ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ท่าเรือแหลมฉบัง โดยเปิดขายซองเอกสารไปเมื่อวันที่ 5 - 19 พ.ย. ที่ผ่านมา

ร.ต.ต. มนตรี ฤกษ์เนียร  ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง รักษาการผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เผยว่า โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 นั้น เป็น 1 ใน 5 โครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ภายใต้วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งประกอบด้วย การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวก จัดให้มีโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่องที่จำเป็นต่างๆ ให้เพียงพอ และมีความพร้อมที่จะรองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าทางเรือ การขนส่งทางรถไฟ และสินค้าประเภทต่างๆ ได้ทันท่วงที


 โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นท่าเรือล้ำสมัย ในการบริหารจัดการด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนผสมผสานให้เป็นท่าเรือที่มีความสำคัญกับสภาพแวดล้อม ดังนั้น การท่าเรือฯ จึงมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่สูงขึ้น โดยการขนถ่ายด้วยเครื่องมือขนสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ที่ทันสมัย Automation ภายใต้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (ppp)


การท่าเรือฯ ได้ดำเนินการประกาศเชิญชวนให้เอกชนผู้สนใจเข้าร่วมบริหารและประกอบการในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา  และเปิดขายซองเอกสารเมื่อ วันที่ 5 -19 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีเอกชนที่ให้ความสนใจจำนวน ทั้งที่เข่ามาสอบถาม และเข้ามาซื้อเอกสารทั้งสิ้น 32 ราย โดยมาจากทุกมุมโลก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายืนดี ที่มีผู้นักลงทุนสนใจ ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับท่าเรือแหลมฉบังมากขนาดนี้


อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ที่ประสบผลสำเร็จ โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านไปทางสถานทูต รวมถึงภาพรวมของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่ง โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่  3 เป็น 1 ใน 5 โครงการหลัก จึงอาจเป็นแรงจูงใจในการตัดสินเข้าร่วมลงทุนกับท่าเรือแหลมฉบัง 

“ โดยในวันนี้เราได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจซื้อซอง มาสอบถามข้อสงสัยต่างๆ และหลังจากนี้ จะเปิดโอกาสให้ส่งข้อสงสัยและสักถามได้ทางอีเมลโดยจะส่งมาได้จนถึงวันที่ 30 พ.ย. หลังจากนั้นก็จะรวบรวบคำถามทั้งหมด มาตอบทุกข้อข้องใจแล้วพิมพ์แจกให้กับทุกคน โดยทุกคนจะได้รู้ทุกคำถาม-ตอบ ทั้งหมดพร้อมกัน  ”


สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือตู้สินค้า จำนวน 4 ท่า (ท่าเรือ E1 E2 F1 F2) ความจุ 7 ล้านตู้ต่อปี มูลค่าลงทุน 1.1 แสนล้านบาท โดยจะเปิดประมูลพัฒนาท่าเรือ F1 F2 ก่อน ซึ่งมีความยาวหน้าท่ารวม 2,000 เมตร รองรับได้ 4 ล้านทีอียูต่อปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนักลงทุนที่อาจพัฒนาและใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มขีดรองรับเป็น 5-6 ล้านทีอียูต่อปีก็ได้ ส่วนท่าเรือ E1 E2 จะเปิดประมูลหานักลงทุนหลังจากนี้อีก 6-7 ปี 

  โดยการท่าเรือฯ จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ก่อสร้างท่าเทียบเรือมาตรฐาน การขุดลอกร่องน้ำ ถนน ราง ระบบ ไฟฟ้า ประปา ทั้งหมด ลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยในช่วง 2 ปีแรกจะเร่งพัฒนาพื้นที่ F ก่อน วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเร่งส่งมอบให้เอกชนไปพัฒนาต่ออีกประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเปิดให้บริการได้ในปี 66-67 โดยในส่วนของพื้นที่ F มีอายุสัมปทาน 35 ปี 

สำหรับปริมาณสินค้าของท่าเรือแหลมฉบังในปี 2561 มีประมาณ 8 ล้านทีอียู เติบโตจากปีก่อน 4% โดยในปี 60 ที่มี 7.6 ล้านทีอียู คาดว่าปี 2562 การเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 4-5% ซึ่งอัตราเติบโตที่ผ่านมาเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมองว่าการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะเริ่มส่งผลให้มีสินค้าเพิ่มในอีก 2-3 ปีข้างหน้าแบบก้าวกระโดด ดังนั้น การท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะสามารถเสร็จทันและรองรับปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้พอดี หากล่าช้ากว่านั้นจะเกิดปัญหาความแออัดได้


โจ ลำน้ำปิง/รายงาน

หนังสือพิมพ์รวมพลัง | รวมพลัง ทีวี

เขียนโดย Admin เวลา 11:35:00. หมวดหมู่ , , , . แจ้งข่าวสาร / ร้องทุกข์ หรือต้องการติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ คลิกที่นี่

สนับสนุนข่าวโดย ท่าเรือLCB ฮักเกอร์ Makro paitoon สโมสรโรตารี ไทยออยล์ ปตท. SCG