เผยแพร่เมื่อ:
เขียนโดย Admin

โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จัดพิธีวาศิลาฤกษ์ อาคารใหม่


      วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารอำนวยการผู้ป่วยนอกและรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ณ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยมีนายแพทย์สุทัศน์ ดวงดีเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ให้การตอนรับ


      โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอำนวยการผู้ป่วยและรังสีวินิจฉัย เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการในเขตสุขภาพที่ 6 และรองรับประชาคมอาเซียน ให้สามารถเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐานสากล ครบวงจรอย่างทั่วถึง ตลอดจนการดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ และเพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายด้านการรักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางในภาคตะวันออก รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมและสนับสนุนการให้บริการตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพ (Service Plan) โดยได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 381,300,000 บาท ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2559 – 2561


     สำหรับอาคารอำนวยการผู้ป่วยนอก มีพื้นที่ใช้สอย 20,413 ตารางเมตร จำนวน 10 ชั้น ประกอบด้วย การบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป การตรวจรักษาโรคเฉพาะทาง ห้องตรวจรังสีวินิจฉัย ห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา การให้บริการด้านเคมีบำบัด งานส่งเสริมสุขภาและจิตอาสา สำนักงานกลุ่มภาคกิจต่างๆ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด และห้องประชุมขนาด 400x420 คน สามารถรองรับการขยายการบริการตรวจรักษาด้านโรคมะเร็ง แก่ประชาชนผู้มารับบริการในเขตรับผิดชอบได้อย่างประสิทธิภาพ พัฒนาขีดความสามารถด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง รองรับตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ให้ประชาชนเข้าถีงบริการการตรวจรักษาด้านโรคมะเร็ง โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางบริการด้านสุขภาพ และบริการด้านสังคม ซึ่งอาคารจะเปิดให้บริการในปี 25562


     นอกจากนี้โรงพยาบาลมะเร็ง ยังได้รับงบประมาณจากกรมแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเงินบำรุงโรงพยาบาลมะเร็งสมบท จำนวน 120,000,000 บาท ในการจัดซื้อเครื่องเร่งอนุภาครังสี ชนิดที่ผลิตรังสีโฟตอนพลังงาน 6 และ 10 ล้านโวลต์ และผลิตลำรังสีอิเล็กตรอนร่วมด้วย พร้อมชุดอุปกรณ์ฉายรังสีแบบเชิงปริมาตร ใช้สำหรับฉายรังสีระยะไกลจากภายนอกร่างกาย เครื่องเร่งอนุภาครังสี เป็นเครื่องฉายรังสีที่ 3 ที่ติดตั้งทดแทนเครื่องฉายรังสีรุ่นเก่าที่เสียไปแล้ว ที่มีอายุการใช้งานมาแล้วถึง 18 ปี อาจไม่เพียงพอต่อการให้บริการฉายรังสีผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มาขอรับบริการรักษาที่มีจำนวนมากขึ้น โดยทุกปีจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 10 % เพื่อให้การบริการรักษาผู้ป่วยรวดเร็ว ทั่วถึงและการรักษาที่ต่อเนื่อง การเพิ่มเครื่องฉายรังสีตัวที่ 4 สามารถแก้ปัญหาระยะเวลารอคอยฉายรังสีได้สูงสุดถึง 60 – 70 รายต่อวัน อีกด้วย



ปริญญา/ข่าว/ภาพ

หนังสือพิมพ์รวมพลัง | รวมพลัง ทีวี

เขียนโดย Admin เวลา 10:55:00. หมวดหมู่ , . แจ้งข่าวสาร / ร้องทุกข์ หรือต้องการติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ คลิกที่นี่

สนับสนุนข่าวโดย ท่าเรือLCB ฮักเกอร์ Makro paitoon สโมสรโรตารี ไทยออยล์ ปตท. SCG