ทลฉ.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ร่วมกับ World Bank เพื่อทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการเน้นให้ความสำคัญฯทั้งหน้าและหลังท่า

เขียนโดย Admin | | หมวดหมู่ , ,

ที่ ห้อง SRIRACHA GRAND BALLROOM  โรงแรมโอ๊ควูด แอนด์ เรสซิเดนซ์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์  กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประธานการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank พร้อมด้วย เรือโทยุทธนา  โมกขาว   ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  กรรมการการท่าเรือฯ  ผู้บริหารการท่าเรือฯ ผู้แทน World Bank  ผู้แทนผู้ประกอบการ และพนักงานการท่าเรือฯ เข้าร่วม 

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์  กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง กำลังเดินหน้าเข้าสู่เฟส 3  ส่วนพื้นที่ด้านหลังท่าเรือแหลมฉบังจะมีการพัฒนาหรือจัดโซนนิ่ง อย่างไร เพราะท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้ดูแลเรื่องนี้มานาน ดังนั้นจึงได้จัดสัมมนา เพื่อขอความร่วมมือจากธนาคารโลก มาวางแนวทางหรือทิศทางรูปแบบต่างๆของประเทศอื่นๆ ที่มีการพัฒนา ข้างหลังท่ากัน ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังต้องการทราบข้อมูลจากการสัมมนาในครั้งนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกๆภาคส่วนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในพื้นที่  เพื่อที่จะมองได้ว่าในแต่ละพื้นที่ควรที่จะกำหนดเป็นโซนอะไรได้บ้าง เพื่อเกิดประโยชน็สูงสุด ของพนักงานท่าเรือ ,ผู้ส่งออก-นำเข้า ที่จะมาใช้บริการท่าเรือ เช่น ค่าใช้จ่ายต่ำสุด, ระยะเวลาน้อยที่สุดที่เข้ามาใช้บริการ

การสัมนาครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่สิ่งสำคัญ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การท่าเรือแหลมฉบัง  ทุกภาคส่วนต้องมีความเป็นเจ้าของ หากไม่มีสิ่งนี้แล้ว ก็เป็นเพียงทำเอกสาร ,พาวเวอร์พอย เท่านั้น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้นการสัมมนาดังกล่าวก็จะนำรายละเอียดจากทุกภาคส่วนที่มีการพูดคุยกัน จัดทำเป็นเอกสาร เพื่อสรุปในมุมมองของทุกคนให้บอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทยสามารถรับรองได้

ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีศักยภาพ แต่จะต้องย้อนกลับมาดูว่า บางครั้งการเติบโตของท่าเรือ เติบโตเป็นส่วน โดยไม่ได้มองภาพใหญ่ และถึงเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปีแล้ว จะต้องมีการรื้อใหม่รูปแบบใหม่ แต่จะรื้อมาหรือน้อยก็ต้องดูผลของการสัมมนา

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์  กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีศักยภาพ แต่จะต้องย้อนกลับมาดูว่า บางครั้งการเติบโตยังเป็นส่วนๆ โดยไม่ได้มองภาพใหญ่  ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว คงถึงเวลาแล้วที่ต้องการรื้อใหม่รูปแบบใหม่ แต่จะรื้อมาหรือน้อยก็ต้องดูผลของการสัมมนาวันนี้ 

นอกจากนี้ขณะนี้ทุกๆคนมองที่ศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง แต่เรื่องของชุมชนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาเชื่อมโยงกับท่าเรือให้ได้ โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปด้วยกันได้  แต่ขณะนี้ขอจัดการในส่วนของท่าเรือ ก่อนและค่อยมาคุยกับชุมชนหรือผู้นำท้องถิ่นไปในรูปแบบไหนที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ด้านเรือโทยุทธนา  โมกขาว  ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  กล่าวว่า  ทางท่าเรือแหลมฉบัง ได้จัดสัมมนา รูปแบบเวิร์คช็อป ร่วมกับ World Bank เพื่อเป็นการทบทวนรูปแบบการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบัง ที่มีมานานแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการทบทวนสิ่งต่างๆที่ผ่านมา จึงได้จัดสัมมนาดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากโลกมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปไกลแล้ว เช่น ระบบโลเจสติกส์  วันนี้จึงเป็นโอกาสได้มาทบทวน จึงเชิญผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในแหลมฉบัง ,ผู้เช่าพื้นที่ในเขตท่าเรือแหลมฉบัง ,เจ้าหน้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง และ World Bank มาให้ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนี้มาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังต่อไปในอนาคต  

“โลกมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ซึ่งในความเป็นจริง ในเรื่องการขนส่งสินค้าเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ดังนั้นการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อนำประสบการณ์จากทั่วโลก มาบอกกับท่าเรือแหลมฉบัง ควรจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง  เช่น กรีน เอ็นนิเจีย (Green Technology) โดยเฉพาะประเทศที่มีการพัฒนาแล้วมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพลังงานไปพอสมควรแล้ว แต่ท่าเรือแหลมฉบังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเริ่มพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้ก้าวหน้าไปสู่ กรีน พอร์ต ในอนาคต และที่สำคัญโลกในอนาคตหากธุรกิจใดไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะทำธุรกิจได้ยาก” เรือโทยุทธนา  กล่าว


ท่าเรือแหลมฉบัง ซ้อมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้รับสารเคมี หมดสติ แล้วพลัดตกเรือ

เขียนโดย Admin | | หมวดหมู่

   ณ ห้องแตรทอง 1 ศูนย์สวัสดิการท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี  เรือโท ยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประธาน มอนิเตอร์ ศูนย์บัญชาการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และฝึกซ้อมการรักษาความปลอดภัย ท่าเรือแหลมฉบัง ครั้งที่  1 ประจำปี 2568 โดยมีนาวาตรี นนท์เผ่าพงธ์ คูณสวัตถิกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบริการ  พร้อมด้วย ผู้บริหาร พนักงานท่าเรือแหลมฉบัง และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ อำเภอศรีราชา สำนักงานควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจน้ำ การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 จังหวัดชลบุรี เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เทศบาลตำบลบางละมุง องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ หน่วยงานราชการ โรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตอำเภอศรีราชา เข้าร่วมพิธีเปิด

 
เรือโทยุทธนา  กล่าวว่า ท่าเรือแหลมฉบัง ในฐานะท่าเรือหลักของประเทศ หากเกิดเหตุการณ์อันแสดงถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้ท่าเรือแห่งนี้ ก็จะส่งผล กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ท่าเรือแหลมฉบังจึงได้จัดให้มีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของเรือและท่าเรือตามหลักสากล ที่เรียกว่า "International Ship and Port facility Security Code หรือ ISPS Code" โดยกำหนดให้มีการฝึกอบรมและฝึกซ้อมการ รักษาความปลอดภัยท่าเรือเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้ได้จำลองสถานการณ์ว่ามี คนตก จากเรือสำราญ  ซึ่งได้รับสารเคมี แล้วหมดสติ แล้วพลัดตกเรือ 
 
การฝึกซ้อมในครั้งนี้ มีหน่วยงานจากหลายหน่วยงานและหลายองค์กร โดยจะเป็นการสร้างความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยระหว่างหน่วยงาน หากเมื่อเกิดสถานการณ์จริงขึ้นมา ก็สามารถประสานงานด้วยดี ทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  สำหรับปัญหาอุปสรรคในครั้งนี้  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการติดต่อสื่อสาร ในเรื่องของขบวนการและหน้าที่ของแต่ละคน ดังนั้นจะต้องมีการติดต่อประสานงานกันตลอดเวลา เพราะทุกๆฝ่ายก็พยายามจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น แต่การช่วยเหลือต้องมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในทุกๆฝ่าย ซึ่งการประสานงานเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ
 
“หลังจากฝึกซ้อมเป็นที่เรียบร้อยนี้ จะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมด มาสรุปเพื่อถอดเป็นบทเรียนว่าจุดไหนติดขัด ดังนั้นการฝึกซ้อมเป็นสิ่งสำคัญมากหากไม่ได้รับการฝึก จะไม่เข้าใจสถานการณ์จริงและการปฎิบัติจริง จะกลายเป็นอุปสรรคมากกว่าจะทำให้สถานการณ์ลุล่วง” เรือโทยุทธนา  กล่าว

สำหรับการฝึกในปีนี้ มีการกำหนดการฝึกซ้อมฯ ทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3-7  มีนาคม 2567  และครั้งที่ 2 ช่วงเดือนสิงหาคม 2568 โดย จะมีการฝึกปฏิบัติ รวมทั้ง การตอบโต้ในสภาวะฉุกเฉิน และทบทวนความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกส่วนงานมีความเข้าใจในอำนาจหน้าที่ ของแต่ละส่วนงาน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น แต่ละส่วนงานสามารถปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยอีกด้วย




 

ท่าเรือแหลมฉบัง ได้รับโล่ประกาศกิตติคุณ โครงการ "คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 2567

เขียนโดย Admin | | หมวดหมู่ ,

   ที่ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี-รังสิตเขตพญาไทกรุงเทพฯ สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ร่วมกับ มูลนิธิทำความดีเพื่อความดี และสมาคมภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล พร้อมด้วย 10 องค์กรสื่อ จัดงานมอบโล่ประกาศกิตติคุณ ภายใต้โครงการ  "คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 2567 ให้กับบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ทำความดีในด้านต่างๆ โดยมี พล.อ.กิตติ รัตนฉายา และพล.อ.จรัล กุลละวณิชย์  ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศกิตติคุณ “คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 2567 พร้อมกล่าวให้โอวาท และแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับโล่กิตติคุณในครั้งนี้

นายอภิรัฐ กุนกันไชย นายกสมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม กล่าวว่า สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชนในการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางเผยแพร่ของทางสมาคมอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2567

สำหรับโครงการ  "คนดีของแผ่นดิน" ประจำปี 2567 จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ บุคคล หรือองค์กร ซึ่งทำความดี ด้านต่างๆ ในช่วงปี 2567 เพื่อให้ ประชาชนและสังคม ได้รับรู้ ถึงบุคคล หรือองค์กร ซึ่งทำความดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบโล่ประกาศกิตติคุณ และการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเพื่อ กระตุ้นบุคคลหรือองค์กร ให้ทำความดี และเป็นคนดีของแผ่นดิน อย่างภาคภูมิใจ และเพื่อทำตามมติ คณะกรรมการสมาคมฯ และวัตถุประสงค์ของสมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม


ซึ่งในครั้งนี้ สามารถสรรหา บุคคลหรือองค์กร ควรแก่การยกย่อง เป็นคนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2567 ได้ จำนวน 99 ท่าน โดยนายรังสรรค์ ศรีอนันต์ นักบริหาร  13 ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นผู้แทนท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย  และนายยืนยงค์ ยินดีทรง รองนายกสมาคมสื่อมวลชนศรีราชา จังหวัดชลบุรี เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ คนดีของแผ่นดิน ประจำปี 2568 ด้วย


 

ชลบุรี - ท่าเรือแหลมฉบังยันไร้ส่วยแซงคิว แก้ไขปัญหาการจราจรมาอย่างเนื่อง ใช้พื้นที่ 83 ไร่เป็น"Truck parking”

เขียนโดย Admin | | หมวดหมู่ , ,

  เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568  ที่ห้องประชุม 1 อาคารบริหาร ท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ ทั้ง 18 ท่า ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดที่ท่าเรือแหลมฉบัง ในฐานะที่เป็นกำกับผู้ดูแล เพื่อหาเรือถึงปัญหาการจราจรภายใน หลังจากผู้ประกอบการได้ร้องเรียนไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย  

เรือโทยุทธนา  กล่าวหลังจากการประชุมฯ ว่า  เนื่องจากท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือระดับโลก มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าจนปัจจุบัน ติดอันดับที่ 17 ของโลก มีท่าเทียบเรือจำนวน 18 ท่า มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่ากว่า 9,000,000 ทีอียูต่อปี  มีปริมาณรถบรรทุกผ่านเข้า-ออกมากกว่า 6,000,000 คันต่อปี  ทำให้ปัจจุบันมีปริมาณรถบรรทุกหนาแน่นบางช่วงเวลาเกิดปัญหาการจราจรแออัด  ที่ผ่านมาท่าเรือแหลมฉบังได้มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก  เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรภายในท่าเรือ รวมทั้งยกระดับการให้บริการให้ สอดรับต่อแผนการพัฒนาท่าเรือฯ ในระยะยาว ใช้งบประมาณไปนับพันล้านบาท 

เพื่อลดความแออัดของรถบรรทุกที่เข้ามาขนส่งสินค้า และแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือแหลมฉบัง โดยการเพิ่มประตูตรวจสอบตู้สินค้าจากเดิมมีเพียง  6 ช่องทาง จนปัจจุบันมีทั้งหมด 30 ช่องทางแล้ว  ทำการขยายถนน ปรับปรุงผิวจราจร ขยายช่องจราจร  ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง และป้ายสัญญาณจราจร ก่อสร้างสะพานข้ามแยกบริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด  ทางยกระดับจุดกลับรถทางเข้าชุมชนบ้านแหลมฉบัง และยังมีจองเวลาการส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก โดยจะให้ผู้ประกอบการสามารถระบุระยะเวลาในการส่งตู้สินค้าซึ่งคนขับรถไม่ต้องมาเสียเวลารอ โดยมีลานจอดพักรถในพื้นที่ 70 ไร่ ซึ่งมีบริการห้องสุขา จุดทิ้งขยะ ให้บริการ และร้านอาหารใกล้บริเวณดังกล่าว ในเรื่องห้องสุขา เราจะพิจารณาจัดให้บริการในพื้นที่ตามเส้นทางเพิ่มเติม เนื่องจากความไม่สะดวกในช่วงเวลาที่เข้ามาใช้บริการและรอเพื่อเข้าส่งตู้สินค้าเป็นเวลานาน

เรือโทยุทธนา กล่าวอีกว่า  นอกจากนี้ยังมีแผนจัดการพื้นที่ ที่ท่าเรือแหลมฉบังได้วางไว้ คือ โครงการ "  Truck parking“ จะพัฒนาพื้นที่  83 ไร่ บริเวณพื้นที่โซน3 นอกเขตรั้วศุลกากร ทำจุดจอดรถและคอมมูนิตี้มอลล์ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการจอดรถ พักรถ และพักผ่อน เพื่อรองรับรถบรรทุกสินค้าที่เข้ามารอรับส่งสินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษารูปแบบการดำเนินงาน 

เบื้องต้นจะเป็นการให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ และเสนอรูปแบบการบริหารจัดการทั้งหมด ทั้งการก่อสร้างและบริหาร  มั่นใจว่าจะรองรับรถบรรทุกหัวลากรถบรรทุกสิบล้อที่มีกว่า 350,000-370,000 คัน ที่วิ่งเข้าออกขนส่งสินค้าในท่าเรือได้สะดวกสบายมากขึ้น  พร้อมเป็นการสนับสนุนโครงการ Truck Queue  ของท่าเรือแหลมฉบัง โดยเฉพาะรถหัวลากที่ยังไม่มีคิวจะเข้ามาพักคอยในสถานที่แห่งนี้ได้   นอกจากนี้ยังมีแผนจะเปิดประตู 5 เพื่อช่วยระบายการจราจรให้คล่องตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากทุกอย่างแล้วเสร็จจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรภายในได้ อย่างแน่นอน


สำหรับการแก้ไข้ปัญหาเร่งด่วนหลังหลังจากมีเรื่องร้องเรียน ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เผยว่า นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้รับทราบปัญหาและได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา วางแนวทางและมาตรการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ไปแล้ว คือ 

1. เร่งดำเนินการตรวจสอบสาเหตุอย่างเร่งด่วน โดยสั่งการให้ท่าเรือแหลมฉบังตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงของการจราจรติดขัด   2. จัดตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการจราจรของท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังเป็นหัวหน้าคณะทำงาน เพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนที่เกี่ยวข้อง 

3. ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการจัดการคิวรถบรรทุก (Truck Queue) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และ 4. ทำการตรวจสอบ กรณีการเรียกเก็บ “ส่วยแซงคิว” โดยได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเรียกเก็บส่วยดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กทท.ได้เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนทั้งแบบเปิดเผยตัวตน และไม่เปิดเผย ตามช่องทางดังต่อไปนี้ 1) Hotline 0-2269-5555 กด 3 หรือ 09-5562-0095  2) e-mail : info@port.co.th หรือanticorruption.pat@port.co.th 3) Line OA : PAT Connex  4) ระบบ e-complaint ผ่านทาง Website : www.port.co.th

ด้านนายอาณัติ  มัชฌิมา  นายกสมาคมผู้ประกอบการท่าเทียบเรือและตู้คอนเนอร์  เผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่ามีส่วยแซงคิวในท่าเรือฯ นั้น  ผู้ประกอบการยืนยันตรงกันว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง  เพราะเรถขนส่งที่เตรียมเข้าท่าเทียบเรือจะต้องจองคิวผ่านระบบออนไลน์ และรถจะต้องเข้าคิวตามลำดับและมีชื่อบริษัทที่ชัดเจน เปรียบได้กับการจองตั๋วเครื่องบินที่ชื่อคนจองกับที่นั่งต้องตรงกันจะให้คนอื่นมานั่งแทนไม่ได้เช่นเดียวกันที่รถขนส่งก็จะต้องมาต่อคิวตามที่ลงไว้จึงไม่สามารถนำรถออกจากแถวได้ 

“อยากจะขอให้ผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวออกมาให้ข้อมูลเพื่อที่จะได้ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการลงโทษกับเจ้าหน้าที่รับส่วย โดยยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดเผยตัวตน เพราะพวกเราก็อยากรู้เหมือนกันว่าใครรับส่วย”